ไดคัทสติ๊กเกอร์ ระยะขอบตัดตกสำคัญอย่างไร

เรามาทำความรู้จักกับ ไดคัทสติ๊กเกอร์ ระยะขอบตัดตกสำคัญอย่างไร

ไดคัทสติ๊กเกอร์ ในสายงานพิมพ์สติ๊กเกอร์แบบออฟเซ็ท ตัดตกและระยะขอบมีความสำคัญที่นักออกแบบต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกันมานานตั้งแต่แรก แม้มาถึงยุคของเครื่องพิมพ์ที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น หรือแม้แต่การพิมพ์ระบบอื่นๆ เช่น อิงค์เจ็ท หรือดิจิตอล การสร้างไฟล์งานให้มีตัดตกและระยะขอบก็ยังคงเป็นความจำเป็นอยู่ เพราะบางครั้ง แม้โอกาสผิดพลาดในการตัดชิ้นงานสติ๊กเกอร์จะน้อยลง ก็ยังคงจะสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งแม้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็อาจมองเห็นได้ชัดเจนก็ได้

ตัดตกและระยะขอบมีความสำคัญที่นักออกแบบ ไดคัทสติ๊กเกอร์ ต้องเรียนรู้

เรามาทำความรู้จักกับ “ตัดตก” และ “ระยะขอบ” ไดคัทสติ๊กเกอร์ กันค่ะ

ไดคัทสติ๊กเกอร์ ตัดตก (Bleed) คืออะไร

ตัดตก คือการเผื่อขอบการปริ้นท์สติ๊กเกอร์ของงานออกไป ขยายออกไปด้านข้าง เพื่อเผื่อการตัด ที่หากมีการขยับเขยื้อนแม้แต่เพียงเล็กน้อย ขอบของงานที่ไม่ได้ขยายเผื่อการตัดตกเอาไว้อาจจะโผล่ขอบขาวของกระดาษเปล่ามาให้เห็นในงานได้ โดยทั่วไป มักยึดขนาดที่ 3-5 มิลลิเมตร เช่น งานขนาด 10 x 10 ซม. เมื่อเผื่อตัดตกออกไปข้างละ 3 มม. ก็จะกลายเป็น 10.6 x 10.6 ซม. คือขยาย 3 มม.ในทุกด้านนั่นเอง

โอกาสผิดพลาดของการตัดสติ๊กเกอร์ อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การขยับของกองสติ๊กเกอร์ หรือกองงานที่กำลังจะเข้าเครื่องตัด ความลื่น หรืออะไรก็ตาม และผิดพลาดแม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้งานนั้นเสียหายไปได้ เช่นงานปูพื้นสีดำ หากตัดให้โผล่ขอบขาวมาเพียง 0.5 มม. ก็สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว

ดังนั้น ในการทำไฟล์สำหรับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์งานใดๆ ที่เป็นพื้นสี พื้นรูปภาพ พื้นลวดลายใดๆ จึงจำเป็นต้องทำไฟล์งานเผื่อการตัดตกไว้ตั้งแต่ต้น รวมถึงรูปภาพที่จะนำมาใส่ อาจต้องมีขอบของรูปที่เกินออกมาจากขนาดงานจริงด้วย เว้นแต่งานนั้นจะเป็นพื้นขาว ไม่มีลวดลายใดๆ ตัดตกจึงจะไม่ต้องมี โดยเมื่อมีการเผื่อตัดตกออกไป ควรมีเส้นไกด์ไลน์ หรือครอปมาร์ค เพื่อแสดงให้เห็นตำแหน่งที่จะตัดจริงเอาไว้ด้วย

ระยะขอบ (Margin) ของไดคัทสติ๊กเกอร์  คืออะไร

ระยะขอบ คือการกำหนดพื้นที่ส่วนที่เสี่ยงต่อการตัด คล้ายกับการเผื่อตัดตก แต่ระยะขอบ เป็นการเผื่อเข้าด้านในงานค่ะ

การสร้างระยะขอบไดคัทสติ๊กเกอร์

โดยปกติ มักกำหนดขนาดไว้ที่อย่างน้อย 3 มม. เช่นเดียวกัน แต่หากคำนึงถึงขนาดของชิ้นงาน เราอาจปรับเปลี่ยนได้มากกว่านั้นได้ เพื่อเผื่อถึงเรื่องของความสวยงามของการออกแบบและความผิดพลาดที่อาจจะตัดโดนเนื้อหาที่สำคัญออกไปค่ะ เช่น ถ้าชิ้นงานพิมพ์สติ๊กเกอร์เป็นขนาด A4 เราอาจขยายระยะขอบขึ้นมาเป็น 5 มม. หรือ 1 ซม. ก็ได้ (อันนี้เพื่อความสวยงามของการออกแบบอย่างเดียวนะคะ ถ้าเพียงแค่ความปลอดภัยจากความเสี่ยงการโดนตัด ก็ยังคงเป็นที่ระยะ 3 มม. เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานขนาดไหนก็ตาม

ระยะขอบ ไดคัทสติ๊กเกอร์ มีไว้เพื่ออะไรบ้าง

ระยะขอบที่กินพื้นที่จริงเข้ามา 3 มม. ขึ้นไปนั้น เพื่อกำหนดให้เราไม่ควรที่จะวางองค์ประกอบใดๆ ลงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนั้น เช่น สติ๊กเกอร์ข้อความ, สติ๊กเกอร์โลโก้ หรือรูปภาพที่สำคัญ เพราะอาจทำให้เสียวัตถุประสงค์ในการใช้งานไปเลยก็ได้ แม้แต่หากเป็นงานขนาดเล็ก เช่น สติ๊กเกอร์โลโก้, สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า ขนาดเล็ก ก็ยังควรจะหลีกเลี่ยงให้พ้นระยะขอบเอาไว้ อีกทั้งเพื่อสร้างความสวยงามในการออกแบบได้อีกด้วย หากภาพบางภาพหรือองค์ประกอบบางองค์ประกอบ มีความหมิ่นเหม่ เช่น สติ๊กเกอร์โลโก้ ที่หากวางเอียงชิดขอบจนเกือบโดนตัดขาด ภาพชิ้นงานที่ออกมาก็คงไม่สวยนัก แลดูกลายเป็นความผิดพลาดของการออกแบบอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังนั้น สิ่งที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญๆ ต่างๆ ของชิ้นงาน จึงควรห่างจากระยะขอบให้มากที่สุดเอาไว้ จะดีที่สุด

ผลงาน ไดคัทสติ๊กเกอร์ จาก อาร์ทปริ้นสติกเกอร์ มีดังนี้

ไดคัทสติ๊กเกอร์ ออกแบบ ทำไฟล์สำหรับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ อย่างไรให้ปัง

วิธีการทำงานโดยมีตัดตก และระยะขอบ

ทุกครั้งที่ขึ้นชิ้นงานไดคัทสติ๊กเกอร์ใหม่ ทุกโปรแกรมจะมีเครื่องมือสำเร็จหรือทำขึ้นเองก็ได้ ที่จะสร้างเส้นไกด์ไลน์ กำหนดระยะขอบได้ ควรเริ่มสร้างตั้งแต่การกำหนดขนาดชิ้นงาน รวมถึงการขยายขอบชิ้นงานออกไปเป็นส่วนของตัดตก โดยใช้เส้นไกด์หรือขนาดหน้ากระดาษ หรือการสร้าง Crop Mark เอาไว้เพื่อกำหนดขนาดจริงไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม

หากชิ้นงานไดคัทสติ๊กเกอร์ มีการปูพื้นสี

ก็ให้ใช้กราฟิกพื้นสีนั้น ขยายออกไปจากขนาดจริงด้านละ 3 มม. ตั้งแต่ต้น หากไม่มีสี ไม่มีลวดลาย ก็อาจข้ามขั้นตอนนี้ไปได้

และหากพื้นหลังไฟล์ไดคัทสติ๊กเกอร์เป็นรูปภาพ

จำเป็นอย่างยิ่งที่ขนาดต้นฉบับของรูปภาพ จะมีส่วนขอบที่ใหญ่ไปกว่าขนาดงานจริง อย่างน้อยด้านละ 3 มม. โดยเฉพาะด้านที่ตกขอบข้างใดข้างหนึ่งเอาไว้ เพื่อให้รูปภาพที่เกินออกไปจากขอบงานจริงนั้น กลายเป็นตัดตกได้ โดยไม่เสียความหมายของภาพหรือสารที่ต้องการจะสื่อออกไป

ไดคัทสติ๊กเกอร์ ไฟล์สำหรับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ความสำคัญที่นักออกแบบต้องเรียนรู้ 

3โปรแกรมหลักในการออกแบบไฟล์สำหรับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์โลโก้

Adobe Photoshop

1. กำหนดขนาดไฟล์งานตามจริง ตัวอย่างสมมุติเป็นไฟล์งานขนาด A4 ที่มีขนาด กว้าง 210 มม. สูง 297 มม.

2. เปิดไฟล์งานขึ้นมาแล้ว ให้กด Ctrl + R เรียกคำสั่ง ไม้บรรทัด (Ruler) ขึ้นแล้ว ลากเส้นไกด์ออกมาจากไม้บรรทัดทั้ง 4 ด้าน กำหนดให้ขนาดเข้ามาด้านในด้านละ 3 มม.

3. เมื่อเสร็จแล้ว ขยายไฟล์เอกสารงานให้มีระยะตัดตก (Bleed) ขึ้นมาด้านละ 3 มม. โดยไปที่เมนูคำสั่ง Image แล้วเลือก Canvas Size กดตลิกที่ช่อง Relative แล้วใส่ size ใหม่ขยายไฟล์งานออกทุกด้าน ด้านละ 3 มม. ทั้งบน ล่าง ซ้าย และขวา โดยกำหนด Width = +6 Millimeters และ Height = +6 Millimeters เท่านี้เอกสารไฟล์งานก็จะขยายออกไปอีกด้านละ 3 มม. ให้เป็นระยะตัดตกอย่างที่ต้องการ จากนั้นก็ทำการออกแบบรายละเอียดสำคัญให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยที่กำหนดไว้

Adobe Illusrator

สำหรับ Illusrator นั้นทำมาเพื่อสร้าง Artwork ในการทำงานเกี่ยวกับตัวหนังสือและภาพโดยเฉพาะ จึงให้ความสำคัญกับการรองรับกาตั้งระยะตัดตก (Bleed) แต่ก็ยังไม่รองรับระยะขอบ (Margin) ซึ่งเราต้องสร้างเส้นระยะขอบขึ้นมาเอง

1. เปิดไฟล์งานใหม่ขึ้นมา ไปที่ File และ New จากนั้นตั้งค่าขนาดไฟล์งานขึ้นมา สมมุติว่าเป็นขนาด A4 เช่นเดียวกับตัวอย่าง Photoshop ก็จะมีขนาดดังรูป ให้สังเกตช่อง Bleed ที่มี 4 ช่อง พร้อมปุ่มรูปโซ่ช่องสุดท้าย เมื่อเรากดปุ่มรูปโซ่และพิมพ์ 3 มม. เข้าไป ทุกช่องจะเปลี่ยนเป็นขนาดที่เท่ากันคือ 3 มม. ที่เรากำหนดเข้าไปนั้นเอง เพียงเท่านี้เราก็จะได้เส้นตัดตกแบบง่ายๆ มาแล้ว

2. พอเปิดไฟล์ขึ้นมา ก็จัดการสร้างเส้นระยะขอบ 3 มิลลิเมตรต่อด้วยการกด Ctrl + R เรียกคำสั่ง ไม้บรรทัด (Ruler) ขึ้นมา จากนั้นคลิกเมาท์ลากดึงเส้นระยะขอบจากไม้บรรทัดมาโดยกำหนดระยะห่างจากขอบพื้นที่ Artwork เข้ามา 3 มม. เพื่อกำหนดเป็นเส้นขอบงาน เพื่อความปลอดภัยของรายละเอียดไฟล์งานนั้นๆ มิให้ถูกตัดตกหายไป

Adobe InDesign

เป็นโปรแกรมที่รองรับการทำงานในการสร้างเส้นระยะขอบและเส้นระยะตัดตกในไฟล์ Artwork ได้ง่ายที่สุด เพียงแค่ เปิดโปรแกรมไปยัง File และ New ไฟล์งานขึ้นมา จากนั้นตั้งค่าขนาดไฟล์งานขึ้นมาสมมติเป็นขนาด A4 จากนั้นกำหนด เส้นระยะขอบ (Margins) คลิกที่ปุ่มรูปโซ่และกำหนดขนาด 3 มม. จากนั้นก็เลื่อนกำหนดเส้นระยะตัดตกต่อ โดยเลือกที่ Bleed แล้วพิมพ์ 3 มม. เข้าไปเพียงเท่านี้ เราก็จะได้พื้นที่ไฟล์สำหรับการสร้าง Artwork โดยสมบูรณ์

5 ขั้นตอนสั่งพิมพ์สติ๊กเกอร์ไดคัท

สั่งพิมพ์สติ๊กเกอร์

ไดคัทสติ๊กเกอร์ ในสายงานพิมพ์สติ๊กเกอร์แบบออฟเซ็ท ตัดตกและระยะขอบมีความสำคัญที่นักออกแบบต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกันมานานตั้งแต่แรก แม้มาถึงยุคของเครื่องพิมพ์ที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น หรือแม้แต่การพิมพ์ระบบอื่นๆ เช่น อิงค์เจ็ท หรือดิจิตอล การสร้างไฟล์งานให้มีตัดตกและระยะขอบก็ยังคงเป็นความจำเป็นอยู่ เพราะบางครั้ง แม้โอกาสผิดพลาดในการตัดชิ้นงานสติ๊กเกอร์จะน้อยลง ก็ยังคงจะสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งแม้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็อาจมองเห็นได้ชัดเจนก็ได้